ปัญหาการตอบข้อสอบ ONET



ข้อสอบ  O-NET ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แยกตามรูปแบบข้อสอบนั้นมีถึง 5 หัวข้อ ดังนี้

1.  ปรนัยแบบเลือกตอบ แบ่งออกเป็น  4 หัวข้อย่อยว่า
     - 4 ตัวเลือก  1 คำตอบ
     - 4 ตัวเลือก  2 คำตอบ
     - 5 ตัวเลือก  1 คำตอบ
     - 5 ตัวเลือก  2 คำตอบ
2.  ปรนัยหลายตัวเลือก  1 คำตอบ
3.  ปรนัยหลายตัวเลือก  มากกว่า  1 คำตอบ
4.  เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน 
5.  แบบระบายคำตอบที่เป็นค่าหรือตัวเลข

สรุปคือ  ระบบการวัดผลของ O-NET นี้เป็นปัญหาอย่างมากและไม่เข้าใจว่าทำไมมันยุ่งยากมายมายขนาดนี้ เพราะเอาเข้าจริง ๆ เขาบอกว่า  การวัดผลที่ดีข้อสอบต้องไม่ยากเกินไป  แล้วกระบวนการในการเลือกคำตอบปรนัย ( แบบเลือกคำตอบ ) ก้ไม่ควรซับซ้อนจนเกินไป เพราะถ้าข้อสอบไม่ยากเกินไป เด็กที่เก่ง เด้กที่ตั้งใจเรียน เด็กที่ตั้งใจอ่านหนังสือมาเยอะและเตรียมตัวมาอย่างดีก็จะได้คะแนนสูง เด็กที่ทำได้บ้างไม่ได้บ้างระดับคะแนนก็จะอยู่ที่ระดับค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเด็กที่อ่อนก็จะเห็นจากการวัดผลว่า ขนาดข้อสอบไม่ยากยังทำไม่ได้ ดังนั้น จึงวัดผลได้ว่า ข้อสอบง่ายขนาดนี้เด็กที่ทำไม่ได้ก็คือเด็กที่ไม่มีคุณสมบัติ ( Qualify ) จริง ๆ

เพราะฉะนั้น ข้อสอบไม่ควรยากจนเกินไป หรือง่ายเกินไป ไม่ต้องพุดถึงว่าการตอบข้อสอบปรนัยยังต้องมีการเลือกคำตอบได้  2 ตัวเลือก  3 ตัวเลือก แล้วใน  2 ตัวเลือก  3 ตัวเลือกนี้ให้คะแนนไม่เท่ากันด้วย เช่น การเลือกตอบข้อ  ค. ก่อนถึงจะได้  3 คะแนน แล้วยังมี  4 ตัวเลือก  5 ตัวเลือกอีกด้วย น่างงงวยและสับสนเป็นอย่างมาก


ข้อสอบ O-NET  วัดสติปัญญาผู้สอบหรือผู้ออกข้อสอบ