สรุปการประชุม COP21 ที่กรุงปารีส
ผู้นำประเทศกว่า 196 ประเทศเข้าร่วมประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ 21 หรือ COP21 ที่จัดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2558 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีผู้นำประเทศและผู้นำจากภาคส่วนต่างๆ กว่า 2 หมื่นคนจากประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาทั้งหมด 190 ประเทศเข้าร่วมเจรจา ซึ่งเป็นไปอย่างตึงเครียดตลอด 2 สัปดาห์ ได้บรรลุข้อตกลงที่ชื่อว่า ข้อตกลงปารีส
(Paris Agreement) โดยกำหนดให้ประเทศต่างๆลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
และร่วมกันควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส
ข้อตกลงดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่มีการผูกมัดให้ประเทศต่างๆ
ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยข้อตกลงนี้มีสาระสำคัญ
ได้แก่
- จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และเดินหน้าความพยายามที่จะลดให้เหลือต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส
- สร้างความสมดุลระหว่างการปลดปล่อยก๊าซและการหาที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้
- ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการทุกๆ 5 ปี
- ภายในปี 2020 จะต้องสนับสนุนเงินทุน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐให้ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อป้องกันและรับมือกับปัญหาสภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้ข้อตกลงปารีสก็มีส่วนในการเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประเทศภาคีจะต้องปฏิบัติตามและในส่วนที่ให้กระทำโดยสมัครใจ
ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ จะให้ข้อตกลงดังกล่าวก่อนจะมีผลบังคับใช้ โดยในแต่ละประเทศอาจต้องเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบข้อตกลงปารีสหลังจากนั้นจึงให้สัตยาบันโดยต้องมีประเทศอย่างน้อย
55 ประเทศให้สัตยาบันก่อนข้อตกลงถึงจะมีผลบังคับใช้
ประธานาธิบดีบารัค
โอบามา ของสหรัฐก็ได้กล่าวชื่นชมและยกย่องข้อตกลงสิ่งแวดล้อมในกรุงปารีสว่าเป็นข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ของการปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้โลกเสียหายจากภาวะโลกร้อน
และย้ำว่าข้อตกลงนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าทั่วโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สำหรับคณะผู้แทนไทย
ที่นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
พร้อมกับคณะจะแถลงอย่างเป็นทางการ เพราะมีข้อตกลงในสาระสำคัญหลายประการที่ไทยจะต้องรับมาดำเนินการหลังการประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ
20 ถึง 25 ภายในอีก 15 ปีข้างหน้า