บทบาทของออง ซาน ซูจี ในการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า
ออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1945 เป็นบุตรีของนายพล ออง ซาน วีรบุรุษผู้กู้เอกราชให้แก่พม่าและถูกลอบสังหารเมื่อออง ซาน ซูจี มีอายุได้เพียง 2 ปี เมื่ออายุ 15 ปี ซูจีติดตามมารดาไปอยู่ที่อินเดีย เนื่องจากมารดาได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย และได้รับปริญญาตรี สาขาปรัชญาการเมือง และเศรษฐศาสตร์ จาก St. Hugh’s College, Oxford University ดร. ไมเคิล แอริส ( Dr. Michael Aris ) ผู้เชี่ยวชาญด้านทิเบตศึกษา
ออง ซาน ซูจี เริ่มทำงานกับสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์กตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 ประสบการณ์การทำงานของออง ซาน ซูจี ทางด้านรัฐศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศนั้นมีมากมาย ชีวิตครอบครัวของนางประสบความสำเร็จพอใช้ อย่างไรก็ตาม เส้นทางชีวิตของออง ซาน ซูจี ได้เปลี่ยนไป เมื่อได้เดินทางกลับพม่าในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1988 เพื่อมาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นสถานการณ์วุ่นวายในพม่า ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ ได้กดดันให้นายพล เนวิน ต้องลาออกจากตำแหน่ง และเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า วันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในเมืองย่างกุ้ง เมืองหลวงของประเทศพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ผู้นำทางทหารได้สั่งการใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุม ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต
อองซานซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยส่งจดหมายปิดผนึกถึงรัฐบาลเรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1988 ออง ซาน ซูจีในฐานะธิดาของวีรบุรุษของพม่าได้ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าฝูงชนประมาณ 500,000 คน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง เรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตยแต่ผู้นำทางทหารกลับจัดตั้ง สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ ( The State Law and Order Restoration Council : SLORC ) ขึ้นแทน และได้ทำการปราบปราม สังหาร และจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคน ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1988 ออง ซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้ง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ขึ้น ( National League for Democracy : NLD ) และเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค
การดำเนินงานของพรรคสันนิบาตถูกขัดขวางอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจาก ค.ศ. 1989 รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณนางออง ซาน ซูจี ให้อยู่แต่ภายในบ้านพักเป็นเวลา 3 ปี โดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดใด ๆ นางออง ซาน ซูจี เริ่มอดอาหารประท้วงเป็นครั้งแรก เพื่อเรียกร้องให้นำตัวเธอไปกักขังรวมกับนักศึกษาที่ถูกจับกุมไปจากบ้านพักของเธอ ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลทหารสัญญาว่าจะปฏิบัติต่อนักศึกษาเหล่านั้นอย่างดี
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย NLD ของเธอ ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่รัฐบาลเผด็จการทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว กลับยื่นข้อเสนอว่า จะยอมปล่อยนางออง ซาน ซูจี เป็นอิสระถ้าเธอยินยอมเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปอยู่กับสามีและบุตรชายอีกสองคนที่ประเทศอังกฤษ และยุติบทบาทการเมืองทุกประการ ออง ซาน ซูจี ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวและยังคงพำนักอยู่ในพม่าต่อไป
รัฐบาลพม่าถูกกดดันจากนานาชาติเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งจำต้อให้อิสระภาพครั้งแรกแก่นางออง ซาน ซูจี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 แต่หลังจากนางและสมาชิกพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยหลายคนได้ถูกตำรวจสกัดไม่ให้เดินทางพ้นชานกรุงย่างกุ้ง เพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง นางออง ซาน ซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ โดยใช้วิธีเผชิญหน้าอย่างสงบกับตำรวจอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง 9 วัน ตำรวจปราบจลาจลเกือบ 200 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้บังคับให้เธอกลับเข้าเมืองหลวง ต่อมาไม่นาน ต่อมาไม่นานนางออง ซาน ซูจี วางแผนที่จะเดินทางออกจากเมืองย่างกุ้งอีกครั้งหนึ่ง เธอพร้อมด้วยคณะผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟแล้ว แต่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมตามจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของเธอ และไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะเยี่ยมเยียน นางออง ซาน ซูจี ถูกกักขังโดยปราศจากข้อกล่าวหาหรือความผิดใด ๆ เป็นครั้งที่ 2
ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านในประเทศพม่าได้รับประกาศชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1991 โดยคณะกรรมการโนเบลแห่งประเทสนอร์เวย์ มอบเป็นเกียรติแก่การต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีของเธอในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า แม้ว่าล่าสุดนางได้รับการปล่อยตัว ความผ่อนปรนของรัฐบาลทหารพม่ามีความต้องการที่จะปฏิรูปประเทศและนำประชาธิปไตยมาใช้ โดยจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ 2010 นางออง ซาน ซูจี เป็นผู้นำฝ่ายค้าน แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งแต่ครั้งก็ตามแต่นางออง ซาน ซูจี ก็ไม่สามารถเป็นผู้นำรัฐบาลของประเทสพม่าได้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุไว้อย่างชัดเจน ห้ามผู้นำรัฐบาลสมรสกับชาวต่างชาติ ความต้องการที่จะเปิดประเทศและนำประชาธิปไตยมาใช้ในพม่าเป็นเรื่องที่น่าจับตามมอง บทบาทของนางออง ซาน ซูจีกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป
รศ. ประทุมพร วัชรเสถียร โลกร่วมสมัย 2