ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด ท่ามกลางการเข้ามามีบทบาทของมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น การตัดสินใจใดใดของผู้นำเกาหลีเหนือทำให้มีทิศทางว่า ไม่เพียงแต่จะส่งผลแต่คาบสมัครเกาหลี แต่นั้นหมายความรวมถึงการการเมืองระดับโลก ซึ่งอาจอุบัติขึ้นเป็นสงครามครั้งใหม่ก็เป็นได้
ความขัดแย้งระหว่างสองเกาหลี เป็นมรดกของสงครามตัวแทนที่ยังคงดำรงอยู่แม้สงครามเย็นสิ้นสุดลง ขณะที่โลกก้าวไปสู่การพัฒนา และความเปลี่ยนแปลง แต่แนวนโยบายของของเกาหลีเหนือยังคงเหมือนเดิม ด้วยแนวคิด"กองทัพต้องมาก่อน" บวกกับความเป็นผู้นำที่ทำให้เหล่านายพลจงรักภักดี และอาวุธนิวเคลียร์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีกองทัพที่ทรงอานุภาพมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลก
เกาหลีเหนืออยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ ที่อยู่ท่ามกลางระหว่างจีน รัสเซีย ตลอดจนเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ แต่การทดสอบขีปนาวุธหลายครั้ง รวมถึงระเบิดนิวเคลียร์ครั้งล่าสุด ได้สร้างความตึงเครียดและส่งผลต่อภาวะทางเศรษฐกิจในคาบสมุทรเกาหลี ขณะที่จีนเองซึ่งกำลังเจริญเติบโตอยู่ ก็อาจต้องสะดุดลง ทำให้องค์การสหประชาชาติตัดสินใจลงมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ การปิดชายแดนเกาหลีเหนือ และยกเลิกข้อตกลงไม่รุกรานเกาหลีใต้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรในครั้งนี้ อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า เกาหลีเหนือกำลังประสบปัญหาภายใน และอาจเป็นจุดที่ทำให้นายคิมจองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือต้องแสดงบทบาท เพื่อทำให้บรรดานายพลที่รายล้อม ยังคงจงรักภักดีต่อเขา และประชาชนยังคงศรัทธาอยู่
แนวโน้มข้างหน้าสำหรับนายคิมจองอึนที่ต้องเลือก คือยุติการเผชิญหน้า และร่วมเจรจาแก้ไขความขัดแย้ง แต่อาจต้องแลกด้วยการถูกคณะทหารโค่นอำนาจ หรืออาจเลือกบุกโจมตีเกาหลีใต้ เพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง แต่จะทำให้สหรัฐฯเข้าร่วมทำสงคราม และอาจดึงหลายประเทศร่วมสู้รบ ทำให้ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี กลายเป็นหายนะของโลกก็อาจเป็นไปได้