เอฟทีเอ ตอนที่ 7


ประโยชน์และผลกระทบจากการทำเอฟทีเอ

การทำความตกลงการค้าเสรีเปรียบเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน คือมีทั้งด้านบวกและด้านลบ มีผลประโยชน์และมีผลกระทบ แต่เอฟทีเอน่าจะมีส่วนดีมากว่าส่วนไม่ดี มิเช่นนั้นคงจะไม่เป็นกิจกรรมยอดนิยม และฮิตติดลมมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดูตัวอย่างที่ใกล้ตัวจากการทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันจองอาเซียน ทำให้การค้าภายในประเทศสมาชิกขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเดิมในปี 2536 อาเซียนมีมูลค่าการค้าภายในระหว่างกัน  82,444 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน  19.2 % ของมูลค่าการค้าของอาเซียนทั้งหมด ได้ขยับขึ้นเป็น  105,483 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน  20.5 % ของมูลค่าการค้าของอาเซียนทั้งหมดในปี 2537 ซึ่งเป็นปีหลังการทำเอฟทีเอกัน หลังจากนั้น 15 ปีต่อมา มูลค่าภายในอาเซียนเพิ่มเป็น 304,893 ล้านเหรียญสหรัฐ และ  352,771 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 24.9 % และ 25.1 % ของมูลค่าการค้าของอาเซียนทั้งหมดในปี 2548 และ 2549 ตามลำดับ

นั่นเป็นเพียงตัวอย่างประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมจากการทำเอฟทีเอ แต่ประโยชน์ที่ได้มาต้องมีต้นทุน สิ่งไหนจะมีน้ำหนักมากว่าระหว่างประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเอฟทีเอ สำหรับประเทศไทยแล้ว แน่นอนที่สุดเราต้องดูผลประโยชน๋์ที่ไทยจะได้รับโดยรวมเป็นหลัก

ประโยชน์

- เพิ่มขนาดของตลาด
- สร้างการค้าและโอกาสในการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ
- สร้างพันธมิตรเพื่ออำนาจต่อรองกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ 
- เศรษฐกิจกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น
- การแก้ไขปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทำได้ง่ายขึ้น
- ลดต้นทุนการผลิต จากการที่ราคาวัตถุดิบนำเข้าต่ำลง และการประหยัดต่อขนาดการผลิต
- ยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรให้ดีขึ้น เนื่องจากสินค้ามีความหลากหลายและราคาต่ำ

ผลกระทบ

- รัฐขาดรายได้จากการเก็บภาษีศุลกากร
- เกิดต้นทุนในการเจรจาและต้นทุนในการบริหาร
- ภาคการผลิตบางประเภทต้องปรับตัวอย่างมาก